ดร.กีรติ กิจมานะวัฒน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (AOT) พร้อมด้วย นายกิตติพงศ์ กิตติขจร ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการเตรียมความพร้อมรองรับ การเดินทางของประชาชนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2567 ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ.) บริเวณโถงผู้โดยสาร ขาออก ชั้น 4 จุดตรวจคนเข้าเมืองและจุดตรวจค้นตามมาตรการรักษาความปลอดภัย รวมถึงการตรวจเยี่ยม การจัดระบบการจราจรหน้าอาคารผู้โดยสารและตรวจสอบความคับคั่งของจุดเซ็กอินต่างๆ ภายในอาคารผู้โดยสาร โดยในวันที่ 11 เมษายน 2567 คาดการณ์ว่า ทสภ.จะมีปริมาณผู้โดยสารเดินทางรวม 192,322 คน แบ่งเป็นผู้โดยสารระหว่างประเทศ 159,836 คน ผู้โดยสารภายในประเทศ 32,486 คน และมีเที่ยวบินประมาณ 1,003 เที่ยวบิน แบ่งเป็นเที่ยวบินระหว่างประเทศ 769 เที่ยวบิน และเที่ยวบินภายในประเทศ 234 เที่ยวบิน โดยคาดว่าวันที่ 16 เมษายน 2567 จะมีประชาชนเดินทางกลับถิ่นฐานมากที่สุด
ดร.กีรติ กล่าวว่า AOT ได้ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรรมที่ช่วยตอบโจทย์การเดินทางที่สะดวกสบายแก่ผู้โดยสารผ่านแอปพลิเคชัน SAWASDEE by AOT ซึ่งผู้โดยสารสามารถเช็กข้อมูลและสถานะเที่ยวบินแบU Real-time พร้อมระบบแจ้งเตือนแบบอัจฉริยะเมื่อใกล้เวลาเดินทาง สามารถคันหาข้อมูลที่สำคัญต่างๆ ภายในสนามบิน เช่น ข้อมูลรถสาธารณะ ข้อมูลจุดอำนวยความสะดวกภายในสนามบิน รวมถึงร้องเรียนและติชมการให้บริการ เพื่อช่วยวางแผนการเดินทางให้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ ในช่วงเทศกาลที่มีผู้โดยสารมาใช้บริการสนามบินจำนวนมากอาจทำให้ต้องรอคิวบริเวณเคาน์เตอร์ให้บริการต่างๆ เป็นเวลานาน AOT จึงได้ติดตั้งเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ช่วยอำนวยความสะดวกและทำให้ผู้โดยสารใช้ระยะเวลารอคอยให้น้อยที่สุด อาทิ ระบบตรวจบัตโดยสารขึ้นเครื่อง (Common Use Terminal Equipment: CUTE) ระบบเช็กอินด้วยตนเองอัตโนมัติ (Common Use Self Service: CUSS) ระบบรับกระเป๋าสัมภาระอัตโนมัติ (Common Use Bag Drop: CUBD) และระบบพิสูจน์อัตลักษณ์บุคคล (Automated biometric Identifcation System) เป็นต้น สำหรับเรื่องระยะเวลาของกระบวนการผู้โดยสารระหว่างประเทศ องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (CAO) ได้กำหนดระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับผู้โดยสารขาออกที่ 60 นาที/คน และผู้โดยสารขาเข้า 45 นาที/คน ซึ่งระยะเวลาเฉลี่ยของกระบวนการผู้โดยสาร ณ ทสภ. อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่ ICAO กำหนด
ดร.กีรติ กล่าวเพิ่มเติมว่า AOT ยังได้พัฒนาระบบการจัดการข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจร่วมกันของผู้มีส่วนได้เสียในท่ายากาศยาน (Airport Collaborative Decision Making: A-CDM) เพื่อนำมาใช้พัฒนากระบวนการทำงานภายใน ท่าอากาศยาน โดยมีหลักการพื้นฐานคือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการในท่าอากาศยานแบบเรียลไทม์ (Real time) สามารถสื่อสารและประสานงานเพื่อตัดสินใจร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งในส่วนของผู้ดำเนินการท่าอากาศยาน สายการบิน ผู้ให้บริการภาคพื้น ผู้ให้บริการการจราจรทางอากาศ ส่งผลให้การจัดบริหารจัดการเที่ยวบินและการบริหารจัดการทรัพยากรของท่าอากาศยานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ยกระดับเรื่องความตรงต่อเวลาในการให้บริการ (On-Time Performance) รวมถึงสามารถนำข้อมูลมาคาดการณ์ (Predictability) วางแผน AOT บริหารจัดการได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ปัจจุบัน AOTได้เดใช้งานระบบ A-CDM ดังกล่าวเต็มรูปแบบ ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานดอนเมืองตั้งแต่ วันที่ 21 มีนาคม 2567
ด้านนายกิตติพงศ์ กล่าวว่า เพื่อให้การบริการช่วงเทศกาลสงกรานต์เป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ทสภ.ได้เปิดศูนย์ปฏิบัติการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (Operations Command Center) หรือ OCC ซึ่งเป็นศูนย์ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อตรวจติดตามการบริหารจัดการกระบวนการผู้โดยสารขาเข้าและขาออกไม่ให้เกิดความแออัด ตลอดจนดูแลด้านสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้พร้อมใช้งานอย่างเต็มประสิทธิภาพ รวมถึงดูแลความปลอดภัยภายในท่าอากาศยาน รองรับการเดินทางของผู้โดยสารในช่วงเทศกาลสงกรานต์ให้ได้รับการบริการที่สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย ซึ่งภายในศูนย์จะมีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานเวรตรวจติดตามผ่านกล้อง CCTV ตลอด 24 ชั่วโมง
นอกจากนี้เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกผู้โดยสาร ทสภ.ได้เปิดลานจอดรถระยะยาวโชน D ให้ผู้ใช้บริการสามารถนำรถยนต์มาจอดได้ฟรีในช่วงระหว่างวันที่ 12 – 16 เมษายน 2567 ตั้งแต่เวลา 00.01 น.ของวันศุกร์ที่ 12 เมษายน 2567 ถึงเวลา 24.00 น. ของวันอังคารที่ 16 เมษายน 2567 รวมทั้งสิ้น 5 วัน ทั้งนี้ ทสภ. ได้จัดรถ Shuttle Bus สาย A บริการรับ – ส่ง ระหว่างลานจอดรถระยะยาวโซน D และอาคารผู้โดยสารทุกๆ 15 นาที ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หากผู้โดยสารต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์ปฏิบัติการอาคาจอดรถยนต์ หมายเลขโทรศัพท์ 0 2132 9511 ตลอด 24 ชั่วโมง
AOT มุ่งมั่นพัฒนาสนามบินในความรับผิดชอบให้มีความพร้อมให้บริการผู้โดยสารด้วยมาตรฐานเหนือระดับประสบการณ์การเดินทางที่น่าประทับใจ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมการบินและการท่องเที่ยวของประเทศให้เติบโต ตลอดจนเป็นการสร้างรายได้และกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศได้อย่างยั่งยืนตามนโยบายของรัฐบาลต่อไป
ชัยฐกรณ์ I สมุทรปราการ